อดีตเลขาธิการสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปปร.2

ผมเป็นนักศึกษาหลักสูตรของสถาบันพระปกเกล้าซึ่งมีเพียงหลักสูตรเดียวของสถาบันพระปกเกล้าในสมัยแรกตั้งสถาบัน คือ หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับผู้บริหารระดับสูง ผมเข้าเป็นนักศึกษารุ่นที่ 2 ด้วยโควต้าของผู้บริหารพรรคการเมืองในฐานะของเลขาธิการพรรคประชากรไทย

 หลังจากจบหลักสูตรผมและคณะนักศึกษาตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงรุ่นที่ 4 ได้รวบรวมบรรดาศิษย์เก่าที่จบหลักสูตรดังกล่าว ดำเนินการก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่าของสถาบันพระปกเกล้าขึ้นโดยใช้ชื่อจากการพิจารณาของเลขาธิการสถาบันในสมัยนั้นคือ  ดร.บวรศักดิ์ สุวรรณโณ  ว่า   “สมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า” ดำเนินกิจการของสมาคมโดยมุ่งเน้นทางการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อประเทศชาติเป็นหลักใหญ่ทั้งด้านการวิจัยทางวิชาการและสาธารณะประโยชน์ต่างๆ

คณะกรรมการชุดก่อตั้งสมาคมได้เรียนเชิญ พล.ต.อ. ประมาณ อดิเรกสาร เป็นนายกสมาคมเป็นคนแรก ในฐานะของนักศึกษารุ่นแรกที่มีอาวุโสและสมาชิกภาพมีนักศึกษาที่จบรุ่นต่างๆเป็นกรรมการตามควรแก่กรณีโดยมีผมเป็นเลขาธิการสมาคมเป็นคนแรก

ในช่วงปลายปี 2546 ท่าน พินิจ จันทรสุรินทร์ ในฐานะประธานกรรมาธิการติดตามงบประมาณซึ่งเป็นอุปนายกสมาคมและเป็นนายกสมาคมคนต่อมาของสมาคม ได้มอบหมายให้ผมดูแลคณะวิจัยคณะหนึ่งซึ่งทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรภาครัฐซึ่งมี คุณเกียรติศักดิ์ กิตติธัญวงศ์และคณะเป็นผู้ดำเนินการและตั้งผมเป็นกรรมการฝ่ายวิชาการของสมาคม

ในเวลาต่อมาผมและคณะได้ดำเนินการโดยมุ่งเน้นถึงวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการพัฒนามาตรฐานระบบงานภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของบุคลากรภาครัฐให้ได้ทั้งระบบและดำเนินการศึกษาติดตามการประกาศใช้ระบบงบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์(Stratigie Performance Based Budgeting )  ของรัฐบาลและการนำระบบ  GFMIS  (Government Fiscal Management Information System)มาใช้รองรับการเบิกจ่ายแทนระบบการวางฎีกาของส่วนราชการซึ่งมีมาแต่เดิม

จากการศึกษาวิจัยพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ทำให้งานวิจัยนี้ขยายผลคลอบคลุมได้ตามแนวทางปฎิรูประบบราชการที่ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงระบบงานภาครัฐให้ทันสมัยเทียบเท่ามาตรฐานสากลจนสามารถประยุกต์เป็นระบบบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ ซึ่งมีเนื้อหาที่สำคัญ 2 ส่วนหลัก คือ

เป็นต้นแบบกระบวนงานภาครัฐ (Government Business Process)

ส่วนที่เป็นระบบงาน (Application)ที่พัฒนาต่อยอดจากกระบวนต้นแบบในส่วนแรกรองรับการบริหารจัดการในระดับองค์กร (Enterprise) จำแนกเป็นการทำงานในด้านต่างๆประกอบด้วย7ระบบดังนี้

การบริหารจัดการด้านบุคลากร

ระบบงานงบประมาณ

ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง

ระบบควบคุมพัสดุ

ระบบการเงิน

ระบบบัญชี

ระบบบริการข้อมูลบุคลากรภาครัฐ

จากผลสำเร็จของการศึกษาวิจัยและพัฒนาที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เป็นที่รู้จักและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งจากส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐต่างๆรวมถึงหน่วยงานกลางต่างๆ อาทิ สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง

กระทรวง ICT และสำนักงาน กพร. เนื่องจากเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาด้านการบริหารจัดการแบบบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐได้อย่างแท้จริงประกอบกับในการดำเนินงานทุกกรณีศึกษากับทุกหน่วยงานจะเป็นการดำเนินการที่วิเคราะห์และเจาะลึกเพื่อการทบทวนการทำงานให้กับหน่วยงานใหม่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้หน่วยงานจะจัดทำหนังสือแจ้งความประสงค์เพื่อขอความร่วมมือทางวิชาการมา ทั้งเพื่อการเผยแพร่และเพื่อการร่วมกันในการพัฒนาปรับปรุงระบบงานของหน่วยงานเป็นจำนวนมาก

โดยปัจจุบันมีหน่วยงานภาครัฐบางส่วนได้นำผลงานวิจัยนี้ไปติดตั้งเพื่อใช้งานบางส่วนแล้ว อาทิ การกีฬาแห่งประเทศไทย สำนักงานประกันสังคม สำนักงานอัยการสูงสุด กรมส่งเสริมการส่งออก แต่เนื่องจากที่ผ่านมาการดำเนินงานของโครงการฯมีข้อจำกัดทางด้านบุคลากรและไม่มีเงินสนับสนุนงบประมาณการดำเนินการจากภาครัฐอย่างจริงจังทำให้ไม่สามารถตอบรับการให้บริการวิชาการกับทุกหน่วยงานได้อย่างเต็มที่

 นอกจากนี้ในด้านกิจกรรมที่เป็นความร่วมมือทางวิชาการในลักษณะการเผยแพร่งานวิจัยซึ่งได้มีการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีโดยการจัดเป็นหลักสูตรการอบรมให้กับระดับผู้บริหารและผู้ปฎิบัติของส่วนราชการและหน่วยงานรัฐต่างๆโดยการใช้ผลการดำเนินงานที่ร่วมกับหน่วยงานต้นแบบมาเป็นกรณีศึกษาในการอบรม/Best Practice ดำเนินการมาแล้ว 7 รุ่น มีผลประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากทุกหลักสูตร

ในการดำเนินงานที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มโครงการเมื่อปลายปี 2546 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปี ผ่านทั้งอุปสรรคซึ่งมีกรรมการของสมาคมบางคนไม่เข้าใจถึงวัตถุประสงค์จนถึงการไม่ยอมรับของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่วัยเกษียณบางคนซึ่งยังติดยึดในระบบและวิธีการอันโบราณ เร่อร่า  และล้าสมัย เสียเวลาและตรวจสอบยาก บัดนี้งานวิจัยชิ้นนี้ได้สำเร็จลุล่วงจนผมและคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการนำผลรายงานวิจัยดังกล่าวขอจดทะเบียนสิทธิ์จากกระทรวงพาณิชย์จนเป็นที่เรียบร้อยแล้วและพร้อมที่จะนำออกมาขยายผลให้แพร่หลายเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติต่อไป

สุดท้ายนี้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ผมและคณะวิจัย ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน          
ขอขอบพระคุณผู้มีส่วนสนับสนุนให้ความช่วยเหลือให้กำลังใจจนผลงานชิ้นนี้สำเร็จได้ด้วยดี ดังมี
รายนาม ดังนี้

พล.ต.อ. ประมาณ อดิเรกสาร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และนายกสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า คนที่ 1

นายพินิจ จันทรสุรินทร์ อดีตรัฐมนตรี และนายกสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้าคนที่ 2

นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา 

นายสุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา

นายนรนิติ เศรษฐบุตร อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า 

นายบวรศักดิ์ สุวรรณโน เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า 

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ นายอาวุธ วรรณวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ   

นายนิยม รัฐอมฤต รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า 

นายสวัสดิภาพ กัณฑาธรรม อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณและอดีตสมาชิกวุฒิสภา  

นายเอื้อมบุญ  ไกรฤกษ์  อดีตที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ 

ดร.ณรงค์ สัจจพันโรจน์ อดีตผู้เชี่ยวชาญสำนักงบประมาณ 

นายสีมา สีมานันท์ อดีตเลขาธิการกพ. 

นายเกษม นาชัยเวียง อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฏีกา

นายมนตรี ชัยพันธ์ รองผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย 

นายสิทธิพล รัตนากร อดีตรองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม 

นายราเชนทร์ พจนสุนทร อดีตอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ ประธานเทคนิคมหาวิทยาลัยศรีปทุม 

นายสำราญฉัตรโท รองกรรมการผู้จัดการไทยทีวีสีช่อง3

นายครรชิต  มาลัยวงศ์  ราชบัณฑิตด้านคอมพิวเตอร์ 

นายแพทย์พรหมมินทร์ เลิศสุริยะเดช อดีตรองนายกรัฐมนตรี

1 Comment