อดีตรองนายกรัฐมนตรี

เทคโนโลยี ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วด้วยอัตราเร่ง โดยการคิดประดิษฐ์
และพัฒนาเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ (computer) หรือ ที่เราเรียกว่า “สมองกล” ยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ใน ด้านผลิต การดารงชีวิตในทุกด้าน วิถีการดาเนินชีวิตของมนุษย์จึงเปลี่ยนแปลงได้
ไม่ว่าการทำมาหากิน หารายได้ การติดต่อสื่อสาร การทำธุรกรรม การให้บริการ และในที่สุดเกี่ยวข้องกับการจัดระบบงาน และการบริหารงาน

เมื่อวิถีการผลิต และการดาเนินชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป ก็บังเกิดความต้องการใหม่ ข้อเรียกร้องใหม่ และการแสวงหาบริการใหม่ๆ จากผู้ให้บริการ รัฐในฐานะผู้ให้บริการประชาชน และผู้ใช้อานาจแทนประชาชนผู้ เสียภาษีอากร จึงต้องมีการปรับตัว ปรับปรุงการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของการ ดำเนินชีวิตทางสังคม ที่ต้องการทางานให้สะดวก เร่งรีบ ถูกต้อง  รวดเร็วและ
มีประสิทธิภาพ

หน่วยงานรัฐจึงมีการปรับตัว ควบคู่กับการพัฒนาปรับตัวของบริการภาคเอกชน ในอัตราเร็วบ้าง ช้าบ้าง น้อยบ้าง มากบ้าง ลดหลั่นกันไป การปรับตัวเหล่านี้ ได้แก่การนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และการสื่อสารมาใช้ การจัดระบบบริการ และการจัดระบบบริหารงานให้ทันสมัย ตัวอย่างเช่น ระบบจัดเก็บภาษี การติดต่อลงทะเบียน ขอรับบริการ ระบบทะเบียนราษฎร์ การศึกษา หรือแม้กระทั่งการดาเนินการของกระบวนยุติธรรม การยอมรับ หลักฐานวัตถุพยาน ก็ต้องปรับตัวใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร โดยเฉพาะทาง Internet มาใช้ร่วมด้วย

การเปลี่ยนแปลงระบบการทางานดังกล่าวนี้ มีส่วนประกอบสาคัญ 5 ประการ

1. ด้าน Hard ware ได้แก่ เครื่องมืออุปกรณ์ด้าน Computer และการสื่อสาร

2. ด้าน Soft ware ได้แก่ Program ที่ทางานอุปกรณ์ทางานตามภารกิจ และความประสงค์ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูล การดึงข้อมูลมาใช้ การคิดคานวณตามหลักเกณท์ที่ผู้ใช้งานจะออกแบบ และกาหนดไว้

3. ด้านCommunicationnetworkโครงข่ายการสื่อสารที่ต้องออกแบบให้เพียงพอสะดวกประหยัด เหมาะสมต่อการใช้งาน และทั่วถึงทันสมัย

4. Work Process  หรือ  Work Flow  ได้แก่ระบบการทางาน  ขั้นตอนที่ต้องออกแบบให้กระชับ  รัดกุม     ถูกต้อง ตรวจสอบได้ ที่จาเป็นรวดเร็วทันการณ์

5. Humanware ได้แก่ผู้ใช้งาน ใช้ประโยชน์ซึ่งต้องมีความรู้  ความเข้าใจ  ตระหนักถึงความสาคัญ ของ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี่ได้อย่างต้องดี กำาหนดเป้าหมายการทางานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
และสอดคล้องกับสภาพการใช้งาน

ประสบการณ์สาคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อสารมาปรับใช้ระบบราชการที่สมควรยกเป็น ตัวอย่างในที่นี้ คือ การนาระบบ Government Financial Management Information System (GFMIS) มาปรับใช้ในระบบเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณแผ่นดินของหน่วยงานราชการทุกหน่วยงานทั่วประเทศให้อยู่ในระบบ  Computer   ตั้งแต่ได้รับงบประมาณแผ่นดินจากกระทรวงการคลังตามพระราชบัญญัติการ  
งบประมาณรายจ่าย ประจาปีจากรัฐสภา การเบิกจ่ายเงิน การดาเนินการจัดหาจัดซื้อ การจัดจ่ายชาระเงิน จนถึงขั้นลงบัญชีที่ให้ข้อมูล สถานะการเงินของแผ่นดินเป็นระบบ Real Time สามารถจัดทารายการให้เป็นปัจจุบัน วันต่อวัน สิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นตั้งแต่ดาริเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2544 เสนอนายกรัฐมนตรีขอความเห็นชอบไปศึกษา ดาเนินการของบประมาณ และได้ร่วมอนุมัติ จัดหาอุปกรณ์ จัดทำ  Program โดยหารือผู้ใช้งานทุกระดับทั่วประเทศ จนดำเนินการฝึกอบรม ผู้ใช้ด้านการเบิกจ่ายเงินทุกระดับ กว่าจะเริ่มใช้ได้จริงเวลาก็ล่วงเลยมาถึงปี พ.ศ. 2548  แม้นายกรัฐมนตรีจะเห็นชอบแล้วกว่าจะได้ใช้งานเกือบ 4 ปี ให้หลัง และหน่วยงานกลางก็ถูกบังคับให้ใช้ เพราะไม่สามารถเบิกจ่าย ตามระบบเดิมที่ถูกยกเลิกไปได้อีกต่อไปแล้ว และรัฐบาลก็ได้นำรายงานสภาพการเงินวิเคราะห์เพื่อใช้ทำงานบริหารในมิติต่าง ๆ   สรุปรายงานในคณะรัฐมนตรีเป็นระยะ ๆ  จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง  ซึ่งคาดหวังว่าจะนำมาเชื่อมต่อกับระบบข้อมูล ทะเบียนราษฎร์ ข้อมูลการจัดเก็บภาษี  ระบบการประกันสุขภาพ  ระบบการขอรับ บริการด้านการศึกษา และการสมัครงานต่อ ๆ ไป

ผมต้องขอแสดงความชื่นชมและยินดีอย่างยิ่ง กับคณะวิจัยภายใต้สมาคมแห่งสมาคมสถาบันพระปกเกล้า ที่ดำริเริ่มการพัฒนาระบบสารสนเทศ  และการสื่อสารเพื่อพัฒนาการบริหารงานหน่วยงานราชการจนสำเร็จ โดย พื้นฐานในครั้งนี้ ได้รับความสนับสนุนร่วมมือเป็นอย่างดี จากคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการพลเรือน (กพร.)  และดำเนินการไปทดลองใช้ในบางหน่วยงานแล้ว  ถือเป็นก้าวกระโดดที่
สำคัญอีกก้าวหนึ่งของระบบราชการไทย ใน การนี้หน่วยราชการนั้นๆ จะได้บริหารงาน บริหารทรัพยากรอันได้แก่ บริหารพัสดุ บริหารการเงินและบริหารคน เพื่อรองรับการตัดสินใจด้วยกระบวนการทำงาน Working Process ที่ถูกต้องกระชับ รัดกุม ติดตามงาน รายงาน และประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ปัจจัยของความสาคัญขึ้นอยู่กับ

1. ผู้นำองค์กร ต้องเข้าใจ และให้ความสำคัญในการผลักดันหน่วยงาน ถ้า กพร. ได้ศึกษา และผลักดัน เรื่องนี้ โดยเสนอผู้นำรัฐบาลอันได้แก่ นายกรัฐมนตรีให้เห็นชอบ โอกาสจะสำเร็จมีกว่าครึ่งแล้ว

2.ต้องมีการใช้งานจริง ผู้นำหน่วยงานเป็นหลักในการผลักดันให้เกิดการใช้งานจริง เรียกใช้งานผ่าน ระบบงานใหม่นี้ รับรายงานผลการปฎิบัติงานจากระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ ตลอดจนชี้แนะหรือทาให้เห็น ผลดี จากการใช้ประโยชน์จากระบบนี้

3.ต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องระหว่างผู้ออกแบบพัฒนา Program กับผู้ใช้งานเพราะ สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ และมีความแตกต่างของการทำงาน ภารกิจ ของแต่ละหน่วยงาน

ท้ายที่สุดขอให้ความมุ่งมั่นตั้งใจ และความพยายามของคณะวิจัยภายใต้สมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้าที่ได้ดำเนินงานมาได้ขั้นนี้ บรรลุผลสาเร็จด้วยความร่วมมือกับคณะกรรมการพัฒนาระบบ ข้าราชการพลเรือน ผลแห่งการกระทำนี้ย่อมเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่พี่น้องประชาชนได้ทั้งมวล 

Comment