รองกรรมผู้จัดการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3

อาเซียนตั้งเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมเศษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community-AEC ) ขึ้นในปี 2558 (2015) ประกอบด้วย 3 เสาหลักคือ การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมเพื่อก้าวสู่ความเป็นหนึ่งเดียวในภูมิภาคที่มีฐานผลิตเดียวซึ่งการรวมตัวเป็นประชาคมครั้งนี้จะก่อให้เกิดข้อตกลงขึ้นมากมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น การลดภาษีอากร ยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้า จัดทำข้อตกลงภาคบริการและการลงทุน อาทิ การเคลื่อนย้ายทรัพยากรการผลิตระหว่างกันรวมไปถึงการลดช่องว่างการพัฒนาของประเทศสมาชิกให้สามารถรับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน ประเทศไทยในฐานะเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มก่อตั้งประชาคมอาเซียนได้กำหนดบทบาทไว้อย่างชัดเจนในนโยบายของรัฐบาลว่า  “เพื่อนำประเทศไทยไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างสมบูรณ์โดยสร้างความพร้อม  ความเข้มแข็ง  ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม   และการเมืองความมั่นคง”   ส่วนแผนการเตรียมพร้อมของประเทศไทยนั้นถ้าดูจากแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน  (ASEAN Master Plan On ASEAN Connectivity )   ก็พบว่ามีกรอบความร่วมมือระหว่างกันถึง 3 ด้าน คือ 

โครงสร้างพื้นฐาน การก่อสร้างถนน เส้นทางรถไฟ ท่าเรือน้ำลึก การขนส่งทางอากาศ รวมทั้งการเชื่อมโยงด้านไอที ท่อก๊าซ และระบบไฟฟ้า

กฎระเบียบว่าด้วยพิธีการศุลกากรตรวจคนเข้าเมือง แรงงงาน และอาชญากรรมข้ามชาติ และกฎระเบียบอื่นๆที่มีผลกระทบด้านลบ เป็นต้น

ความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนจะมุ่งส่งสริมและเสริมสร้างให้ประชาชนไปมาหาสู่กันอย่างเสรีมากขึ้นเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน

ทุกแผน ทุกข้อกำหนด ทุกปฎิญญา หัวใจสำคัญคือบทบาทและหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องขับเคลื่อนประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมภาคภูมิ ซึ่งจำเป็นต้องบริหารจัดการเตรียมความพร้อมในทุกๆด้าน เฉพาะอย่างยิ่งในด้านทรัพยากรมนุษย์ จัดกลุ่มงานหรือส่วนราชการที่รับผิดชอบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่ออาเซียน เพื่อปรับบทบาทเพิ่มศักยภาพทั้งภายในและภายนอกให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น การพัฒนาศักยภาพข้าราชการในด้านการบริหารจัดการระดับต่างประเทศ เพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาประเทศเพื่อบ้าน รวมถึงเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบ กฎหมายให้สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยภายใต้กรอบอาเซียนทั้งสามหลัก

SIGDIC ( Smart IT for Government Data Information Center  ) หรือการบริหารจัดการภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ จึงน่าจะตอบโจทก์การก้าวสู่อาเซียนของประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด เหตุเพราะลักษณะการบริหารจัดการภาครัฐของไทยเราแตกต่างจากต่างประเทศโดยสิ้นเชิง มีทั้งกฎกระทรวง ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี มติคณะรัฐมนตรี กฎหมายเฉพาะ กฎกระทรวง ฯลฯ ทำให้วิธีปฎิบัติของข้าราชการแต่ละกระทรวง ต่างกรม มีมาตรฐานไม่เหมือนกันแม้แต่เรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง คุณลักษณะพิเศษเช่นว่านี้จึงไม่สามารถจัดหาSoftware จากที่ไหนในโลกเข้ามาบริหารจัดการได้เพราะความซับซ้อนของ workflow ไม่มีฝรั่งชาติใดในโลกเข้าใจดีเท่ากับคนไทย

ณ วันนี้ คณะวิจัยภายใต้สมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้าได้ใช้เวลาร่วม 10 ปี รวบรวมกฎหมายและระเบียบต่างๆ ศึกษาวิจัย ERP ภาครัฐ จนสามารถนำไปปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพในองค์กรภาครัฐแล้วหลายหน่วยงาน กลายเป็น Software ที่รัฐบาลโดยคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (กพร.) ให้การยอมรับว่าสมารถจัดกระบวนงานภาครัฐได้ดีเยี่ยม เพราะต่างกระทรวง ต่างกรมกองและทุกหน่วยงานภาครัฐสามารถสื่อสารเป็นภาษาเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งสามารถพัฒนาต่อยอดให้เชื่อมโยงกับภาคเอกชนได้ในบางลักษณะตามที่ต้องการ เช่นเดียวกับการบริหารจัดการภาครัฐของอารยประเทศ

จึงขอชื่นชมคณะวิจัยที่ได้สรรค์สร้างนวัตกรรมหรือ Application อันจะเป็นเครื่องมือให้การบริหารจัดการภาครัฐของไทยก้าวสู่ความเป็นสากลและสนองนโยบายรัฐบาลที่ให้ไว้กับรัฐสภาเกี่ยวกับการนำประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเพื่อให้เป็นไปตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนอีกด้วย 

G-ERP (SIGDIC) จีงน่าจะเป็น key success อย่างหนึ่งของการปฎิรูประบบราชการไทยให้ก้าวทันการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 มั่นใจได้เลยว่าสิ่งที่ทุกคนปราถนาคือ ความเชื่อมั่นประเทศไทย Believe Thailand 2015 จะเกิดขึ้นอย่างสมภาคภูมิ

Comment